กล้องจุลทรรศน์
4. กล้องจุลทรรศน์ ( microscope ) กล้อง จุลทรรศน์ชนิดที่พบได้มากที่สุด คือกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscope) และยังมีกล้องอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังการขยายสูงมาก
- กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์แบบแสง
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ
2. แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน
3. ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่างๆ
4. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
5. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
6. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
7. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่งไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
8. เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
9. กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุ โดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
10. ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
11. แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
12. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
การเกิดภาพจากกล้องจุลทรรศน์
- วัตถุอยู่หน้าเลนส์ใกล้วัตถุ อยู่ระหว่างจุด F และ 2F ของเลนส์ใกล้วัตถุ เกิดภาพแรกเป็นภาพจริง หัวกลับขนาดขยาย
- ภาพแรกที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุ จะทำหน้าที่เป็นวัตถุของเลนส์ใกล้ตา โดยมีระยะวัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา ทำให้เกิดภาพสุดท้ายเป็นภาพเสมื่อนขนาดขยายหัวกลับเมื่อเทียบกับวัตถุจริง
-กล้องจุลทรรศน์ มีระยะห่างระหว่างเลนส์ทั้งสองเท่ากับ S'o + SE
-กำลังขยายขแงกล้องจุลทรรศน์ เท่ากับ กำลังขยายเลนส์ใกล้วัตถุ x กำลังขยายเลนส์ใกล้ตา
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังการขยายสูงมาก เพราะใช้ลำแสงอิเล็กตรอนแทนแสงปกติและใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว เป็นกล้องที่ใช้ในการศึกษาโครงสร้าง และส่วนประกอบของเซลล์ ได้อย่างละเอียดที่กล้องชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ วัตถุบางอย่างมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะสังเกตให้เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสง จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในการสังเกต กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนใช้ลำอิเล็กตรอนแทนรังสีของแสง ซึ่งภาพจะปรากฏบนจอเรืองแสง และสามารถบันทึกภาพได้โดยง่าย
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนโดยทั่วไปมีกำลังขยายสูงถึง 500,000 เท่า ทำให้สามารถมองเห็นโครงสร้างภายในเซลล์ได้อย่างละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น